ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 2 เดิมชื่อว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน) กับท่านผู้หญิงจับ พหลพลพยุหเสนา สมรสกับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี 5 สมัย รวมระยะเวลา 5 ปี 5 เดือน 21 วัน ยังได้รับสมญานามว่า เชษฐบุรุษ ด้วย ถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 03.05 น. รวมอายุได้ 60 ปี

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา มีพี่ชายที่รับราชการทหาร มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพยุหเสนา เช่นกัน คือ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (นพ พหลโยธิน) ยศสูงสุดเป็น พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหนึ่งในคณะราษฎรฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่ เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือ (อีก 3 คน ได้แก่ พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) และพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)) ในระหว่างการประชุมวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาพหล ฯ ได้เคยมีดำริถึงเรื่องนี้มาก่อนและเปรยว่า ทำอย่างไรให้อำนาจการปกครองอยู่ในมือของคนทั่วไปจริง ๆ ไม่ใช่อยู่ในมือของชนชั้นปกครองแค่ไม่กี่คน และเมื่อคณะราษฎรทั้งหมดยกให้ท่านเป็นหัวหน้า ท่านก็รับ

ในเช้าวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้สั่งเสียไว้กับภรรยา (ท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา) ว่า หากทำการมิสำเร็จและต้องประสบภัยถึงแก่ชีวิตแล้ว ขอให้คุณหญิงจงเป็นพยานแก่คนทั้งหลายว่า "การที่คิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินครั้งนี้ มิได้หมายจะช่วงชิงเอาราชบัลลังก์ หรือคิดจะล้มราชบัลลังก์แต่อย่างใดเลย ความมุ่งหมายจำกัดอยู่แต่เพียงว่า ให้องค์กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และให้มีสภาการปกครองแผ่นดิน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้น้อยและประชาราษฎรได้แสดงความคิดเห็นในราชการบ้านเมืองได้บ้าง" และฝากให้เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีด้วย ก่อนออกจากบ้านไปพร้อมกับพระประศาสน์พิทยายุทธที่ขับรถมารับ มุ่งหน้าไปยังตำบลนัดพบ คือ บริเวณทางรถไฟสายเหนือตัดกับถนนประดิพัทธ์ ในเวลา 05.00 น. เพื่อสมทบกับกลุ่มของพระยาทรงสุรเดช พร้อมกับเหน็บปืนพกค้อลท์รีวอลเวอร์ที่เอว เป็นอาวุธข้างกาย ก่อนที่จะเดินทางไปที่กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม.1 รอ.) ที่แยกเกียกกาย เพื่อลวงเอากำลังทหารและยุทโธปกรณ์มาใช้ในการปฏิวัติตามแผนของพระยาทรงสุรเดช ซึ่งที่คลังแสงอาวุธภายในกรมทหารม้าฯ นี้ พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้ใช้คีมตัดเหล็กที่ทางพระประศาสน์พิทยายุทธได้จัดหาไว้ก่อนหน้านั้น ตัดโซ่ที่คล้องประตูคลังแสง เพื่องัดเอากระสุนและปืนออกมา

จากนั้น ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อทหารทุกหน่วยมาพร้อมแล้ว พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา จึงได้แสดงตนเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และอ่านประกาศฉบับแรกของคณะราษฏร ที่เขียนด้วยภาษาเยอรมัน แต่ได้อ่านออกมาเป็นภาษาไทย ซึ่งมีใจความว่า

การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจด้วยพระองค์เอง ใครจะออกเสียงหรือความเห็นคัดค้านอย่างใดมิได้ทั้งสิ้น การปกครองแบบนี้ได้ปล่อยให้อาณาประชาราษฎรเผชิญโชคชะตาทางเศรษฐกิจและการภาษีต่าง ๆไปตามลำพัง ไม่ได้คิดหาทางแก้ไขบูรณะบ้านเมืองให้ดีขึ้น จะปล่อยให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวายและเป็นไปตามยถากรรมนั้นเป็นการไม่พึงบังควรยิ่ง เราจึงต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้พระมหากษัตริย์ทรงสถิตอยู่ใต้กฎหมาย

เมื่อท่านต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่ 2 ของประเทศ แทนที่พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ที่ถูกรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 การทำหน้าที่ของท่านไม่ราบรื่น เนื่องด้วยประสบกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการสงคราม ที่กำลังจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ขึ้น ทำให้ท่านต้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย จากนั้นก็ลงจากตำแหน่ง แล้วเข้ามาเป็นรัฐมนตรีอีก 2 กระทรวง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2477 รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2478 จากนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง ท่านก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 4 โดยนั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หลังจากนั้น ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 และยุติบทบาททางการเมืองไป ซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ก็คือ หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) นายทหารรุ่นน้องที่ท่านรักและไว้ใจนั่นเอง

พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รับพระราชทานวังปารุสกวัน จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นที่พำนัก แม้ถึงตอนที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ซึ่งท่านได้ใช้ที่นี่เป็นที่พำนักพักอาศัยตราบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

พระยาพหลพลพยุหเสนา มีคติประจำใจว่า "ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชาย ต้องไว้ชื่อ" ชีวิตของท่านไม่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเลยแม้จะผ่านตำแหน่งสำคัญ ๆ มามากก็ตาม ใน พ.ศ. 2487 ระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในรัฐบาลพันตรีควง อภัยวงศ์ ที่ขึ้นมาแทนที่รัฐบาลของจอมพลแปลก ที่ได้ลาออกไปก่อนหน้านั้น เมื่อรัฐบาลมีมติปลด จอมพลแปลก ออกจากตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ (ปัจจุบันคือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) ก็ได้ขอให้ท่านรับตำแหน่งนี้เอาไว้ ทั้งที่ท่านประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกแล้ว ประกอบกับร่างกายที่เป็นอัมพาตจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก แต่ท่านก็รับไว้ในที่สุด แม้จะปรารภว่าจะให้เป็นท่านเป็นแม่ทัพกล้วยปิ้งหรืออย่างไร อีกทั้งระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพันตรีควง ในช่วงนี้ เป็นที่หวาดวิตกว่า อาจมีรัฐประหาร ด้วยกำลังทหารจากจังหวัดลพบุรี ที่ยังให้การสนับสนุนจอมพลแปลกอยู่ เพื่อยุติภาวะอันนี้ พันตรีควง จึงตัดสินใจเดินทางไปพบจอมพลแปลกด้วยตัวเองถึงที่บ้านพักส่วนตัว ภายในศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี หลังจากเจรจากันแล้ว จอมพลแปลกได้ยืนยันว่า ไม่มีความคิดเช่นนั้นเลย อีกทั้งยังมีความรักใคร่ พันตรีควง เสมือนเป็นน้องชายตนเอง ในการครั้งนี้ ด้วยความเป็นห่วงพันตรีควง พระยาพหลพลพยุหเสนาได้โทรศัพท์ไปสอบถามถึงบ้านพักของพันตรีควงถึง 2 ครั้ง เมื่อไม่ได้ความ ก็เดินทางออกจากวังปารุสกวันไปที่หลักสี่เพื่อรอคอยการกลับมาของพันตรีควงด้วยตนเอง ทั้งที่สภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย

พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ล้มป่วยลงด้วยโรคอัมพาตเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2488 เนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก แต่ด้วยความสามารถของนายแพทย์และด้วยกำลังใจอันเข้มแข็ง ท่านได้ต่อสู้โรคร้ายมาตลอดราว 2 ปีเศษ จนเมื่อเวลา 21.40 น. ของคืนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2490 ได้เกิดอาการหายใจลึกและสะท้อน ชีพจรอ่อน พูดไม่ได้ มีเสมหะในลำคอมาก ม่านตาไม่ขยาย อาการทรุดลงตามลำดับ จนถึงเวลา 3.05 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ก็ได้ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยวัย 60 ปี นายแพทย์พร้อมกันลงความเห็นว่าเส้นโลหิตในสมองได้แตกอีกเป็นครั้งที่2 จึงเป็นเหตุให้ถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งงานศพของท่านทางครอบครัวไม่มีเงินเพียงพอที่จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ จนทางรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ต้องเข้ามารับอุปถัมภ์ จัดการงานพระราชทานเพลิงให้ท่านแทน ศพของพระยาพหลฯได้ถูกอังเชิญไปประดิษฐาน ณ วังปารุสกวันและพระราชทานเพลิงศพที่วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2490 ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอยู่จำศีลภาวนาเมื่อคราวอุปสมบท

ภายหลังการอสัญกรรม ได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนตามนามสกุลของท่าน คือ ถนนพหลโยธิน และมีการสร้างโรงพยาบาลและใช้ชื่อเป็นการระลึกถึงท่าน คือ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่จังหวัดกาญจนบุรี และปัจจุบัน มีการสร้างพิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา อยู่ภายในศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน หมู่ที่ 7 ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของท่านมาก่อนในขณะเป็นผู้บังคับบัญชา ภายในรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ รูปปั้น ชุดเครื่องแบบ ตลอดจนรูปถ่าย จดหมายลายมือของท่าน และบัตรประจำตัว เพื่อเป็นแหล่งศึกษาชีวประวัติและเชิดชูเกียรติของท่าน ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัด

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ? เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล)

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ? พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร

พระยาพหลพลพยุหเสนา ? แปลก พิบูลสงคราม ? พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต ? อดุล อดุลเดชจรัส ? ผิน ชุณหะวัณ ? สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? ถนอม กิตติขจร ? ประภาส จารุเสถียร ? กฤษณ์ สีวะรา ? บุญชัย บำรุงพงศ์ ? เสริม ณ นคร ? เปรม ติณสูลานนท์ ? ประยุทธ จารุมณี ? อาทิตย์ กำลังเอก ? ชวลิต ยงใจยุทธ ? สุจินดา คราประยูร ? อิสระพงศ์ หนุนภักดี ? วิมล วงศ์วานิช ? ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ ? เชษฐา ฐานะจาโร ? สุรยุทธ์ จุลานนท์ ? สมทัต อัตตะนันทน์ ? ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ? ประวิตร วงษ์สุวรรณ ? สนธิ บุญยรัตกลิน ? อนุพงษ์ เผ่าจินดา ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา ? อุดมเดช สีตบุตร ? ธีรชัย นาควานิช ? เฉลิมชัย สิทธิสาท


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406